Our Address | Tel. | MAP



Updated on July 12, 2010





Reference: (Thai Version)

** บทบาทของนิสิตนักศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษา **
(บทที่ 2 จาก หนังสือคู่มือ QA  “หลักสูตรฝึกอบรมนิสิตนักศึกษา”)

1. ความจำเป็นของการพัฒนาบทบาทนิสิตนักศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษา

นิสิตนักศึกษา ในฐานะผู้รับบริการและเป็นผลผลิตสำคัญของสถาบันอุดมศึกษา และเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงของสถาับันอุดมศึกษา จึงมีพันธะสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนคุณภาพการจัดการศึกษาของสถาบันฯ มีส่วนร่วมและเป็นพลังสำคัญในการผลักดันให้งานประกันคุณภาพการศึกษามีีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาจึงกำหนดให้มีตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา
ของนักศึกษาไว้ใน ตัวบ่งชี้ที่ 9.2 มีระบบและกลไกการให้ความรู้และทักษะด้านการประกันคุณภาพแก่นักศึกษา
โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้

ตัวบ่งชี้ที่ 9.2 : มีระบบและกลไกการให้ความรู้และทักษะด้านการประกันคุณภาพแก่นักศึกษา

คำอธิบายตัวบ่งชี้ : สถาบันอุดมศึกษามีการดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ ในระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบัน เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะและมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อส่งเสริมการประกันคุณภาพของสถาบันให้เข้มแข็ง
รวมทั้งจัดระบบให้ทุกกิจกรรมหรือโครงการของนักศึกษามีการประกันคุณภาพทุกกิจกรรมหรือโครงการ

แนวปฏิบัติที่ดี :

1. มีระบบและกลไกในการสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะด้านประกันคุณภาพให้กับนักศึกษา
2. มีระบบและกลไกส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกระบวนการประกันคุณภาพของสถาบัน
3. มีระบบและกลไกส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ด้านประกันคุณภาพ กระบวนการคุณภาพ เช่น 5 ส. PDCA ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพกิจกรรมหรือโครงการนักศึกษา
4. การติดตามประเมินผลและพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งกิจกรรมที่ดำเนินการโดยนักศึกษา และที่นักศึกษามีส่วนร่วมในกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาับัน

เกณฑ์มาตรฐาน :

1. มีระบบการให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา
2. มีระบบส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ด้านการประกันคุณภาพไปใช้กับกิจกรรมนักศึกษา
3.มีกลไกให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบัน
4. นักศึกษามีการใช้กระบวนการคุณภาพ ในการพัฒนาคุณภาพของกิจกรรมหรือโครงการนักศึกษา
5. นักศึกษาสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพภายในสถาบันและระหว่างสถาบัน
6. มีระบบติดตามประเมินผลการประกันคุณภาพในกิจกรรมที่นักศึกษาดำเินินการในส่วนที่นักศึกษามี
ส่วนร่วมกับการประกันคุณภาพของสถาบัน
7. มีการนำผลการประเมินไปพัฒนากระบวนการให้ความรู้และกลไกการดำเนินงานประกันคุณภาพท
ี่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ด้วยเหตุผลและความสำคัญดังกล่าวข้างต้น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงมีนโยบายให้สถาบันอุดมศึกษา มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาให้กับนิสิตนักศึกษาเพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะและมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อส่งเสริมการประกันคุณภาพของสถาบันให้เข้มแข็ง รวมทั้งมีการนำแนวคิดประกันคุณภาพไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการของนิสิตนักศึกษา





 
 
 

Copyright @ 2009 SIIT Student Affairs Division